อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร
ตั้งอยู่ที่วงเวียนสี่แยกท่าเรืออำเภอถลาง
โดยชาวภูเก็ตร่วมกันสร้างขึ้น เมื่อปี2509
เพื่อเชิดชูเกียรติวีรสตรีผู้กล้าหาญแห่งเมืองถลาง
ในวันที่ 24 มีนาคม 2510 ได้นำรูปหล่อขึ้นประดิษฐานบนแท่นฐานเนื่องจากเป็นวันเดียวกับที่พม่าแตกทัพหนีไปจากเมืองถลาง
เมื่อปี พ.ศ.2328 ต่อมาเดือนพฤษภาคม
2510 ได้ประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง
ไปจากตัวเมืองภูเก็ต แล้วเลี้ยวขวาที่อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรเปิดให้เข้าชมทุกวันยกเว้นวันนักขัตฤกษ์
เวลา 8.30-16.00 น.ค่าเข้าชม คนไทย
10 บาท คนต่างชาติ 30 บาท ภายในมีการแสดงหลักฐานทางโบราณคดี
อาทิ โบราณวัตถุ ศิลปกรรมที่ค้นพบแถบบริเวณด้านชายฝั่งทะเลอันดามัน
นอกจากนี้มีการจำลองเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์
ศึกถลาง วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวภูเก็ต
และชาวเลสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
076-311025,311426
เกาะนาคาน้อย
เป็นเกาะเล็กๆ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะภูเก็ตเป็นเกาะที่มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงมุก
นักท่องเที่ยวสามารถซื้อทัวร์ชมฟาร์มมุกดูการสาธิตวิธีเลี้ยงมุกตลอดจนมีร้านขายมุก
และร้านอาหารทะเลไว้บริการ บนเกาะมีชายหาดสามารถพักผ่อนว่ายน้ำได้
การเดินทางสามารถไปได้ตลอดปีโดยเช่าเรือจากอ่าวปอ
หรือติดต่อบริษัทเพิร์ล ไอแลนด์ทัวร์
076-219870,01-3125420
วัดพระนางสร้าง
อยู่ห่างจากตัวเมือง 20 กิโลเมตร
ไปตามเส้นทางถนนเทพกระษัตรี ถึงสี่แยกอำเภอถลางตั้งอยู่ทางด้านซ้าย
เป็นวัดที่เก่าแก่และเป็นแหล่งประวัติศาสตร์
เมืองถลางที่สำคัญแห่งหนึ่งเพราะเคยเป็นค่ายสู้รบกับพม่า
เมื่อ ปี พ.ศ.2328 นอกจากนี้ภายในอุโบสถยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดีบุกที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลก
3 องค์ เรียกว่า "พระในพุง"
หรือ "พระสามกษัตริย์"
ซึ่งอยู่ในพระอุทรของพระพุทธรูปหล่อองค์
ใหญ่ 3 องค์อีกชั้นหนึ่ง
วัดพระทอง
อยู่ห่างจากตัวเมือง 21 กิโลเมตรไปตามถนนเทพกระษัตรีผ่านสี่แยกอำเภอถลาง
ถึงที่ว่าการอำเภอทางด้านขวาจะมีทางแยกเข้าวัดพระทอง
ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำ
ที่โผล่เพียงพระเกตุมาลาขึ้นมาจากพื้นดิน
โดยมีตำนานเล่าว่าเดิมบริเวณที่ตั้งวัดนี้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์
มีเลี้ยงควาย นำเชือกล่ามควายไปผูกกับหลักที่โผล่มาจากพื้นดิน
โดยไม่ทราบว่าหลักที่โผล่มานั้นคือ
พระเกตุมาลาของพระพุทธรูป หลังจากนั้นเด็กก็ล้มเจ็บและตายลงในที่สุด
พ่อของเด็กฝันว่าที่เด็กตายเพราะนำเชือกล่ามควายไปผูกกับพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปจึงชักชวนชาวบ้านช่วยกันขุดหาก็พบจริงแต่ไม่สามารถขุดขึ้นมาได้
ต่อมาในสมัยพระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่ายกพลมาตีเมือง
ถลาง เมื่อ พ.ศ.2328 ทหารพม่าก็พยายามขุดพระผุด
เพื่อนำกลับพม่าแต่ไม่สำเร็จ กลับโดนฝูงแตนไล่ต่อยต่อมาชาวบ้านจึงก่อพระพุทธรูปครึ่งองค์ครอบไว้ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้
นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของ "พิพิธภัณฑสถานวัดพระทอง"
เป็นที่รวบรวมโบราณวัตถุข้าวของเครื่องใช้ของชาวภูเก็ต
เช่น "จังซุ่ย" เสื้อกันฝนชาวเหมืองแร่ดีบุกรองเท้า
สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทว
ครอบคลุมพื้นที่ 13, 925 ไร่หรือ
22.28 ตารางกิโลเมตร เป็นป่าดิบชื้นอุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิดโดยเฉพาะมีการค้นพบพันธุ์ปาล์มที่หายากชนิดหนึ่งเรียกว่า
"ปาล์มเจ้าเมืองถลาง" หรือ
"ปาล์มหลังขาว" และยังมีสัตว์ป่าอีกหลายชนิด
อาทิ ชะนี ค่าง ลิง เก้ง กวาง หมี
หมูป่า กระรอก กระจง นกนานาชนิด เป็นต้น
นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของภูเก็ตอีกด้วยดังนั้นเขาพระแทว
จึงเป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยวและศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้อย่างแท้จริง
โดยมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญดังนี้
น้ำตกโตนโทร
อยู่ห่างจากตัวเมือง 22 กิโลเมตร
ไปตามถนนเทพกระษัตรีถึงสี่แยกอำเภอถลางแล้วเลี้ยวขวาไป
3 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณน้ำตกโตนไทร
เป็นน้ำตกขนาดเล็ก น้ำจะไหลแรงในช่วงฤดูฝน
มีต้นไม้ใหญ่น้อยร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน
น้ำตกบางแป
ไปจากตัวเมืองถึงอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี
ท้าวศรีสุนทรแล้วเลี้ยวขวาไปทางตำบลป่าคลอก
7 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีสวนรุกขชาติร่มรื่น
และสถานอนุบาลชะนี ซึ่งเป็นโครงการเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของชะนีที่ถูกจับมาเลี้ยงให้พร้อมที่จะกลับคืนสู่ป่าต่อไป
หาดสุรินทร์
อยู่ห่างจากตัวเมือง 24 กิโลเมตร
ไปตามถนนเทพกระษัตรีถึงอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรแล้วเลี้ยวซ้ายไป
12 กิโลเมตร เป็นหาดที่เงียบสงบอยู่ริมเชิงเขา
มีต้นสนทะเลเรียงรายอยู่บริเวณเหนือหาดทางด้านขวาเคยเป็นที่ตั้งสนามกอล์ฟซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่
7 หาดสุรินทร์เป็นหาดที่มีความลาดชันมาก
ในช่วงฤดูมรสุมมีคลื่นลมแรงไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
(หาดในยาง) ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
เมื่อวันทีท 13 กรกฏาคม 2524 อยู่ห่างจากตัวเมือง
30 กิโลเมตร ตามเส้นทางถนนเทพกระษัตรี
ผ่ายสี่แยก อำเภอถลาง ตรงไปเมื่อถึงหลักกิโลเมตร
21-22 จะมี ทางแยกด้านซ้ายเข้าไป
10 กิโลเมตร หรือจะไปทางแยกเข้าสนามบินเลี้ยวซ้าย
2 กิโลเมตร ครอบคลุมเนื้อที่ 90 ตารางกิโลเมตร
หรือ 56,250 ไร่ เป็นหาดทรายที่มีความยาวต่อเนื่องกันถึง
13 กม.โดยเริ่มจาก
หาดในทอน
ไปตามเส้นทางไปอุทยานแห่งชาติ เลี้ยวซ้ายที่หลักกิโลเมตร
21-22 เมื่อถึงทางแยกเข้าบ้านสาคู
เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงหาดในทอน
เป็นเวิ้งอ่าวที่งามแปลกตาทอดโค้งจากตัวเกาะ
เป็นที่กำบังคลื่นลมได้อย่างดี และเป็นหาดที่เงียบสงบ
เหมาะสำหรับการเล่นน้ำ
หาดในยาง
เป็นที่ตั้งทำการอุทยานฯ เป็นหาดที่มีสวนสนร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อนและเล่นน้ำ
นอกจากนี้ยังมีแนวปะการังขนาดใหญ่เป็นที่อาศัยของสัตว์ทะเลนานาชนิดโดยเฉพาะเต่าทะเลซึ่งจะขึ้นมาวางไข่บนหาด
ราว เดือนพฤศจิกายนถึง กุมภาพันธ์
แต่ปัจจุบันเต่าทะเลมีจำนวนลดลงมาก
จนแทบจะไม่เห็นเต่าขึ้นมาวางไข่อีกเลย
หาดไม้ขาว
ไปตามเส้นทางถนนเทพกระษัตรี ผ่านทางแยกเข้าสนามบินตรงไปทางสะพานสารสินจะมีทางแยกด้านซ้ายมือมีป้ายบอกทางเข้าหาดไม้ขาวเลี้ยวซ้ายไป
3.5 กิโลเมตรก็จะถึงหาดไม้ขาว ซึ่งเป็นหาดที่มี
จั๊กจั่นทะเลและเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่
แต่ปัจจุบันจำนวนลดลงมากเช่นเดียวกับหาดในยาง
หาดทรายแก้ว
เป็นหาดทรายขาวทอดยาวขนานกับทิวต้นสนอยู่ถัดจากหาดไม้ขาวไปจนถึงสะพานสารสินนับเป็นหาดที่อยู่เหนือสุดของเกาะภูเก็ต
ป่าชายเลน
ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
บริเวณท่าฉัตรไชยมีเนื้อที่ประมาณ
800 ไร่ ไม้ยืนต้นเด่นๆที่พบในพื้นที่
ได้แก่ โกงกางใบเล็ก โปรงแดง แสมดำ
เล็บมือนาง ถั่วขาว และไม้เถาพวกเถา
ถอบแถบ และพบสัตว์ในป่าชายเลนอีกนานาชนิด
มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติพร้อมป้ายให้ความรู้เรื่องป่าชายเลนตลอดเส้นทาง
เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจและให้ความรู้ไปด้วยในขณะเดียวกัน
|