คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน คอมพิวเตอร์ที่แบ่งตามขนาดของเครื่อง การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการต่างๆ ระบบคอมพิวเตอร์ขอว ทศท. ซอฟท์แวร์ (Software) Configuration Host Mainfram Disk Controller COMPUTER SOFTWARE Communication Software Laser Printer Software Data Base Software End User Software SOFTWARE TOOLS SOFTWARE สำหรับส่งข่าวสารทางคอมพิวเตอร์ MONITOR AND TUNING

คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย

ประเทศไทยได้มีการใช้คอมพิวเตอร์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2506 โดยคอมพิวเตอร์เครื่องแรกได้ติดตั้งที่ภาควิชาสถิติ คณะพานิชยศาสตร์ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2506 คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ คือ IBM 1620 โดยได้รับมอบจากบริษัท IBM มูลค่าประมาณ 2 ล้านเศษ ขนาดใหญ่มากเต็มห้อง งานส่วนใหญ่ใช้ในด้าน การศึกษา ปัจจุบันเครื่องนี้หมดอายุการใช้งานแล้ว คอมพิวเตอร์เครื่องที่สอง ติดตั้งที่สำนักงาน สถิติแห่งชาติ เดือนมี- นาคม พ.ศ. 2507 คอมพิวเตอร์ดังกล่าว ได้แก่ IBM 1401 มูลค่า 8 ล้านบาท ใช้งานหลายด้าน เช่น สำมะโนประชากร 2503 เป็นต้น ปัจจุบันสำนักงานสถิติแห่งชาติได้เปลี่ยนเป็นเครื่องรุ่นใหม่แล้ว ปัจจุบันได้มีหน่วยงาน ทั้งภาคเอกชนและรัฐบาล ได้ติดตั้งหรือ ใช้บริการทางคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้น เช่น - ธนาคารพาณิชยต่างๆ - องค์การโทรศัพท์ - กรมบัญชีกลาง - บริษัทการบินไทย ฯลฯ Go to Top

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์

เครื่องคอมพิวเตอร์มีมากมายหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภท มีวิธีการใช้ ระบบการทำงานและการอำนวย ความสะดวก แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือสามารถ บวกลบ คูณ หาร ได้ประเภทของเครื่อง คอมพิวเตอร์ แบ่งได้หลายประเภทตามหลักการแบ่งต่างๆ ดังนี้คือ 1. คอมพิวเตอร์ที่แบ่งตามลักษณะของข้อมูล สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท 1.1 เครื่องคอมพิวเตอร์แบบอนาลอก (Analog Computer) 1.2 เครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Computer) 1.3 เครื่องคอมพิวแบบไฮบริค (Hybrid Computer) 2. คอมพิวเตอร์ที่แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน แบ่งได้ 2 ประเภท 2.1 คอมพิวเตอร์แบบทั่วไป (General Purpose Computer) 2.2 คอมพิวเตอร์เฉพาะกิจ (Special Purpose Computer) 3. คอมพิวเตอร์ที่แบ่งตามขนาดของเครื่อง สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท 3.1 คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer หรือ Large Scale Computer) 3.2 คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (Minicomputer) 3.3 ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) Go to Top

คอมพิวเตอร์ที่แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน

คอมพิวเตอร์แบบใช้ทั่วไป (General Purpose Computer)

ได้แก่คอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานหลายประเภท หรือหลายภาษา ตัวอย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามศูนย์ คอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งงานของ ผู้ใช้มีหลายประเภทและ หลายภาษา คอมพิวเตอร์แบบใช้เฉพาะกิจ (Special Purpose Computer) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ตรวจและถ่ายภาพ ที่ใช้ตามโรงพยาบาล เป็นต้น Go to Top

คอมพิวเตอร์ที่แบ่งตามขนาดของเครื่อง

คอมพิวเตอร์มีมากมายหลายขนาด แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ จะรับข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งที่ ป้อนลงไปในเครื่อง และแสดงผลลัพธ์ของ ข้อมูลออกมา ขนาดของคอมพิวเตอร์จะมีตั้งแต่ขนาดใหญ่สุด จนถึง ขนาดเล็กที่สุดเป็นขนาดหิ้ว หรือพกพาไปไหนได้ เช่น Portable Computer และ Laptop Computer การแบ่ง คอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่อง สามารถแบ่งได้ดังนี้ 1.

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer หรือ Large-Scal Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งมีหน่วยความจำ ขนาดใหญ่มาก คือ ประมาณ 100 Kbyte ขึ้นไป เวลาที่ใช้ในการ ประมวลผลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีความสามารถ ในการที่จะเก็บข้อมูล ในความ จำสำรองได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร บริษัทประกันภัย งานโรงงานอุตสาหกรรม บริษัทสายการบิน และมหาวิทยาลัย ประสิทธิภาพของเครื่อง Mainframe สามารถเปรียบเทียบได้กับ Supercomputer การประมวลผลข้อมูล โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิด นี้ทำให้ ช้ากว่า Mainframe Computer มีหน่วยความจำน้อยและ มีความ สามารถ ในการบันทึก ลงในหน่วยความจำสำรองได้ น้อยกว่าเครื่องขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีราคาถูก คือประมาณ 1 แสนดอลลาร์ขึ้นไป เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดนี้จะพบทั้ง ในบริษัทขนาด กลาง และขนาดใหญ่ โดยส่วนมากตามบริษัทต่างๆ มักจะใช้คอมพิวเตอร์ ขนาดเล็กในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ตัวอื่น เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร ส่งข้อความจาก คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่อง คอมพิวเตอร์อีก เครื่องหนึ่งที่อยู่คนละสถานที่กัน เป็นระบบการสื่อสาร ชนิดหนึ่งที่ เรียกว่า “Communication System” ระบบการสื่อสาร ชนิดนี้แพร่หลาย อย่างกว้างขวางมาก เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และมีราคาค่อนข้างต่ำ คือ ประมาณ 200-300 ดอลล่าร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิด นี้สามารถ ทำงานได้โดยไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อย่างอื่นช่วยก็ได้ การทำงานเดี่ยวๆ ของเครื่องเรียกว่า “stand-alone basis” ซึ่งในเครื่องไมโครคอม พิวเตอร์ สามารถนำไปใช้งานที่เกี่ยวกับตนเองโดยเฉพาะเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนตัว (Personal Computer หรือ PC) เช่นการคำนวณรายรับ-รายจ่าย ของ ครอบครัว การเล่นเกมส์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถ ใช้ไมโคร คอมพิวเตอร์ไปติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในบริเวณที่มีเนื้อที่ จำกัด ซึ่งเรียกระบบนี้ว่า “Local Area Network (LAN) หรือ ระบบเครือข่าย” Go to Top

การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการต่างๆ

ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในงานต่างๆ แทบทุก สาขาคอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั่วไปไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เช่น 1. การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารธุรกิจ เช่น การขาย การทำบัญชีการเงินช่วยในการ จ่ายเงินเดือนพนักงาน ทำบัญชีคุมสินค้าคงคลัง เป็นต้น 2. การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในวงการธนาคาร 3. การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจำลองการปฎิบัติการ (Simulation) เช่น การฝึกบิน การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการต่างๆ(2) 4. การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ช่วยในการออกแบบ (CAD= Computer Aided Design) 5. การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเก็บและนำข่าวสารมาใช้ 6. การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ช่วยสอน (CAI= Computer Aided Instruction) 7. การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในวงการแพทย์ เป็นต้น Go to Top ระบบคอมพิวเตอร์ของ ทศท.
  • การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของ ทศท.
  • 1.1 ด้านบริการ
  • 1.2 ด้านปฏิบัติงาน
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของ ทศท.
  • 1.1 ด้านบริการ
  • ระบบข้อมูลผู้เช่าโทรศัพท์
  • การให้บริการสอบถามเลขหมาย (บริการ 13)
  • การให้บริการรับแจ้งเหตุเสีย (บริการ 17)
  • 1.2 ด้านปฏิบัติงาน
  • ระบบบัญชีและการเงิน
  • ระบบบริหารพัสดุ
  • ระบบเงินเดือนและระบบบริหารงานบุคคล
  • ระบบรับชำระเงินสด
  • ระบบบริหารเงินสด
  • ระบบงานในสำนักงานทั่วไป
  • ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS)
  • เชื่อมโยงเข้าสู่โครงข่าย Internet
เครื่องมือในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
CONFIGURATION
Go to Top

ซอฟท์แวร์ (Software)

หมายถึงชุดคำสั่งที่มนุษย์ใช้สั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ เรียกชุดของคำสั่งนี้ว่า “โปรแกรมคอมพิวเตอร์” คำว่า ซอฟท์แวร์ เป็นคำที่มีความหมายกว้างขวาง นอกจากจะหมายถึง โปรแกรม คอมพิวเตอร์แล้วยังหมายรวมถึงคู่มือที่ใช้ประกอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และผลลัพธ์ที่เกิดจากการทำงานของโปรแกรมนั้นๆ ด้วยผู้ที่ทำการ เขียนโปรแกรมเรียกว่า โปรแกรมเมอร์ และภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมนั้นๆ ด้วยผู้ที่ทำการเขียนโปรแกรมเรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์เป็นที่นิยม ใช้กันมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาเบสิก โคบอล บาสคาล เป็นต้น

ประเภทของซอฟท์แวร์

ซอฟท์แวร์เป็นส่วนที่ช่วยให้ผู้ใช้ (User) สามารถติดต่อกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ในการสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามที่ ต้องการ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการผ่านซอฟท์แวร์อย่างใด อย่างหนึ่ง ซอฟท์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ 1. ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software) เป็นโปรแกรม ที่บริษัทผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ พัฒนาขึ้นเพื่อควบคุมการจัดระบบ อุปกรณ์และหน่วยความจำ เป็นต้น 2. ซอฟท์แวร์ใช้งาน หรือซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นโปรแกรมที่ โปรแกรมเมอร์ หรือบริษัทที่ผลิตซอฟท์แวร์ พัฒนาจัดทำขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง ตามที่ต้องการ 1. ซอฟท์แวร์ระบบหรือบางทีเรียกว่าโปรแกรมระบบ ซอฟท์แวร์ระบบ หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบ การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ - จัดระบบอุปกรณ์แป้นพิมพ์ จอภาพ เครื่องพิมพ์ เครื่อง ขับจานแม่เหล็ก ให้ทำงานอย่าง ถูกต้องและสอดคล้องกัน - จัดระบบงานการจัดเก็บข้อมูลบนแผ่นจานแม่เหล็ก เกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่ข้อมูล จัดเก็บข้อมูล บอกขนาดหน่วยความจำ บนจานแม่เหล็ก - จัดระบบการทำงานเกี่ยวกับการอ่าน โปรแกรมลงในหน่วย ความจำ การจัดการทำงานแต่ ละคำสั่งในโปรแกรมระบบหน่วยความจำ จัดระบบการใช้เวลาในหน่วยความจำ ประเภทของซอฟท์แวร์ระบบ โปรแกรมระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละบริษัทย่อม แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปแล้ว ซอฟท์แวร์ระบบจะประกอบ ด้วยส่วน สำคัญ 3 ส่วน 1. โปรแกรมตัวแปลภาษา (Translator) ทำหน้าที่แปลภาษา คอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาเบสิก ปาสคาล โคบอล เป็นต้น ให้เป็นภาษา ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้ และสามารถดำเนินการได้ 2. โปรแกรมควบคุมระบบ (Operating System) ทำหน้าที่ จัดควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทุกส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ 3. โปรแกรมสนับสนุน (Utility Software) ทำหน้าที่ช่วยสนับสนุนให้การใช้งานกับคอมพิวเตอร์สะดวกและ มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ภาษาคอมพิวเตอร์ทุกภาษาต้องผ่านการแปลไปเป็นภาษาเค 3ื่องเสียก่อน จึงสามารถสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินการทำงาน ตามคำสั่ง แต่ละ คำสั่งในโปรแกรมนั้นๆ ได้โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อแปลภาษาคอมพิวเตอร์ ให้เป็นภาษาเครื่อง แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ - ตัวแปลคำสั่ง (Interpreter) เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลคำสั่งทีละ คำสั่งและ ทำงานทีละคำสั่งตั้งแต่ต้น จนจบโปรแกรม เช่น ภาษาเบสิก เป็นต้น - ตัวแปลโปรแกรม (Complier) เป็นโปรแกรมที่แปลคำสั่งที่ละคำสั่ง จนจบ โปรแกรมแล้วจึงทำงาน ตามคำสั่งนั้นภายหลัง ตัวแปลโปรแกรม นี้จะใช้จะใช้กับภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาโคบอล สำหรับ ภาษาแอสแซมบลี จะมีตัวแปลภาษาที่ เรียกว่า แอสแซมเบอร์ (Assembler) โดยเฉพาะ

โปรแกรมควบคุมระบบงาน บางครั้งเรียกว่า “ระบบปฎิบัติการ” (Operating System) หรือ O.S เป็นโปรแกรม ที่เขียนขึ้นใช้ควบคุม อุปกรณ์รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ส่งผลลัพธ์ออกมาภายนอก จัดการกับแฟ้มข้อมูล จัดการหน่วย ความจำ และจัดการเวลา ในหน่วย ความจำ เป็นระบบที่ควบคุมให้มนุษย์ สามารถติดต่อสั่งงาน ให้คอมพิวเตอร์ ทำงานตามที่ต้อง การโปรแกรม จัดระบบงานที่นิยมใช้กัน แพร่หลายมี 2 ชนิดคือ - โปรแกรมระบบงาน ซีพีเอ็ม (CPM : Control Program for Microcomputer) เป็นโปรแกรมควบคุม ระบบงาน สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์รุ่น z-80 หรือ 8080 หรือ 8085 ในเครื่องคอมพิวเตอร์ 8 bit พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Digital Rescarch ในราว ค.ศ. 1978 - โปรแกรมระบบงานดอส (DOS ย่อมาจาก Disk Operating System) เป็นโปรแกรมควบคุมระบบสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์รุ่น 8086 หรือ 8088 ในเครื่อง 16 บิต พัฒน าขึ้นโดยบริษัท ซีแอลเติล ในราวปี ค.ศ. 1980

โปรแกรมสนับสนุน เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานที่ต้องเรียกใช้ บ ่อยๆ ช่วยให้ผู้ใช้ทำงานได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ประกอบด้วย - โหลดเดอร์ ทำหน้าที่เรียกโปรแกรมควบคุมระบบงานทั้งหมด จากหน่วยเก็บเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ - เอดิเตอร์ ทำหน้าที่เรียกโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ - มอนิเตอร์ ทำหน้าที่จัดลำดับงาน ประสานงาน และควบคุมการทำงานของโปรแกรม 2. ซอฟท์แวร์ใช้งานหรือซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ซอฟท์แวร์ใช้งาน หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียน ขึ้นด้วย ภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิว เตอร์ทำงานตาม ต้อง การ อาจเขียนโดยผู้ใช้เองหรือบริษัทที่รับจ้างเขียนโปรแกรมก็ได้แบ่งเป็น 1. โปรแกรมประยุกต์งาน (User-WrittenSoftware) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรม ที่ผู้ใช้แต่ละคนเขียนสั่งให้คอมพิวเตอร์ แก้ปัญหาให้ตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเพื่อทำงาน เฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมหาค่าเฉลี่ย โปรแกรมควบคุมสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งจะเขียนด้วยภาษาใดภาษาหนึ่ง 2. โปรแกรมสำเร็จรูป (Package) ได้แก่โปรแกรมที่บริษัท รับจ้างเขียนโปรแกม (Software House) ได้เขียนไว้ ให้ผู้ใช้สามารถซื้อหา มาใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองเวลาเขียนเอง

โปรแกรมสำเร็จรูป

แบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่ 1. โปรแกรมสำเร็จรูปการจัดการฐานข้อมูล (Data Base) ใช้เก็บบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่ มีข้อมูลปริมาณมาก เช่น ประวัติพนักงาน สต๊อกสินค้าคงเหลือ ทะเบียนหนังสือในห้องสมุด ทะเบียนประวัติผู้ป่วย เป็นต้น โปรแกรมประเภทนี้จะทำงานเกี่ยวกับการสร้างไฟล์ข้อมูล การบันทึกข้อมูลลงไฟล์ การปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลงรายการข้อมูล การค้นหาข้อมูล การแยกประเภทข้อมูล ตัวอย่างของโปรแกรม สำเร็จรูป ประเภทนี้ได้แก่ dBASE III plus 2. โปรแกรมสำเร็จรูปจัดการคำนวณ และการแสดงรูปกราฟ ตาราง มีส่วนที่เป็นกระดาษทดใช้บันทึกข้อมูลมีฟังก์ชั่นคำนวณค่าทาง คณิตศาสตร์และสถิติ เช่น การคิดคะแนนนักเรียน การวิเคราะห์เงินทุนหมุนเวียน การวิเคราะห์ยอดขาย รายรับ รายจ่าย เป็นต้น ตัวอย่างของโปรแกรมสำเร็จรูปประเภทนี้ได้แก่ Lotus , Supercal 3. โปรแกรมสำเร็จรูปจัดพิมพ์รายงาน (Word Processing) ใช้จัดพิมพ์จดหมาย หรือรายงาน การกำหนดขนาดของหน้ากระดาษ การแบ่งย่อหน้า การลบการแทรกคำหรือข้อความ การตรวจสอบคำผิด การจัดรูปรายงาน การพิม์ออกตามขนาดและอักษรแบบต่างๆ ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปประเภทนี้ได้แก่ Word Star . RW . CW เป็นต้น 4. โปรแกรมสำเร็จรูปช่วยออกแบบ หรือ CAD (Computer Aided Design) มีบทบาทช่วยออกแบบทั้งทางด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และงานออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ รถยนต์ บ้าน เป็นต้น และสามารถแสดงเป็น 3 มิติได้ด้วย โปรแกรมสำเร็จรูปประเภทนี้ได้แก่ Autocad 5. โปรแกรมสำเร็จรูปช่วยสอน หรือ CAI (Computer Aided Instruction) หมายถึงโปรแกรมที่จะนำมาสอนนักเรียนในวิชาการต ่างๆ แทนครู หรือช่วยครูเป็นการเรียนเพื่อวัดความเข้าใจ ทบทวนเนื้อหาและอื่นๆ เป็นการเรียนด้วยตัวเอง

Configuration Host Mainframe Network Configuration of Chaeng Wattana COMPUTER HARDWARE อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ ชั้น 3

Processor Communication Controller

IBM ES/9121 model 521 1 x IBM 3745 Model 410 128 MB main mimory 4 MB memory 32 channels (24 Parallel , 8 Escon) 896 lines (ความเร็ว 19.2 Kbps) 72 lines (ความเร็ว 64 Kbps) IBM ES/9121 model 190 1 x IBM 3745 Model 170 64 MB main momory 1 x INTERLINK 3762 16 channels Go to Top

Disk Controller Reel Tape

2 x IBM 3990/001 1 x IBM 3803/001 2 x IBM 3990/002 1 x IBM 3803/002 1 x IBM 3990/G03 8 x IBM 3420 1 x IBM 9394/002

Disk Unit Cartridge Tape

2 x IBM 3990/A28 1 x IBM 3490/A01 1 x IBM 3990/A24 1 x IBM 3490/B04 (4 drives) 1 x IBM 3990/B28 1 x MEMOREX 5491 4 x IBM 3390/B2C 2 x MEMOREX 5490 (4 drives) 2 x IBM 3380/AJ4 4 x IBM 3380/BJ4 2 x IBM 9395/B23

Printer Terminal Controller

5 x IBM 6262/022 2 x IBM 3174/11L 2 x IBM 3835/002 3 x McData 7100/10l 1 x MEMOREX 1174/20L Go to Top

COMPUTER SOFTWARE

Operating System

MVS/ESA V 4.3.0 EREP V 3.5.0 JES 2 V 4.3.0 RMF V 4.3.0 RACF V 1.9.2 SDSF V 3.3 SMF/E V 1.7.0 JES/328 X V 2.2.0

Online Interactive System

TSO/E V 2.4.0 ISPF V 3.5.0 ISPF/PDF V 3.5.0 Utility Software DFP V 3.3.2 DSF V 1.15.0 DFDSS V 2.5.0 DFSORT V 12.0 Go to Top

Communication Software

ACF/SSP V 3.9 ACF/NCP V 6.3 Tier 5 NETVIEW V 2.4 FTP V 1.1.1 CICS/ESA V 2.1.2 ACF/VTAM ESA V 3.4.1

Laser Printer Software

PSF/MVS V2.1.1 OGL/370 V 1.1.0 BARCODE/OCR V 1.1 PPFA/370 V 1 Compiler VS COBOL II V 1.3.2 ASSEMBLER H V 2.1.0 Go to Top

Data Base Software

DB 2 V 2.2 QMF V 2.4

Online Development Software

CSP/AD V 3.2.2 CSP/AE V 3.2.2 Go to Top

End User Software

GDDM V 2.2 GDDM/PGF V 1.1 BASE/SAS V 6.07 SAS/STAT V 6.07 SAS/GRAPH V 6.07 SAS/ETS V 6.07 SAS/FSP V 6.07 Application Software SAP V 5.0D Go to Top

SOFTWARE TOOLS

DASD MANAGEMENT CA-ASM2 JOB ACCOUTING & TUNING CA-JARS/MVS CA-JARS/CICS UNDER MVS TRANSFER FILE ON HOST PELICAN MVS PELICAN 3270 Go to Top

SOFTWARE สำหรับส่งข่าวสารทางคอมพิวเตอร์

MEMO/BASE MEMO/PC MEMO/FORMS MEMO/API MEMO/EXM MEMO/GATEWAY MEMO/LAN Go to Top

MONITOR AND TUNING

OMEGAMON II FOR MVS LEVEL 350 OMEGAMON II FOR MVS LEVEL 300 OMEGAMON II FOR MVS LEVEL 200 OMEGAMON VIEW 120 CICS / ABEND - AID
HOME