1. โรคเน่าดำหรือโรคยอดเน่าหรือโรคเน่าเข้าไส้
เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora สามารถเข้าทำลายกล้วยไม้ได้ทุกส่วน เข้าทำลายรากทำให้รากแห้งมีผลทำให้ใบเหลืองและร่วง ถ้าเป็นที่ยอด ยอดจะเน่าเป็นสีน้ำตาลหากเป็นรุนแรงเชื้อจะลามเข้าไปในลำต้น ซึ่งเมื่อผ่าดูจะเห็นในลำต้นมี
สีดำเป็นแนวยาว ส่วนอาการที่ดอกบริเวณปากดอกและก้านดอก
เหี่ยวสีน้ำตาล ถ้าเป็นรุนแรงดอกจะหลุดร่วงจากช่อ โรคนี้มักแพร่ระบาดมากในฤดูฝนหรือในสภาพอากาศมีความชื้นสูง
การป้องกันกำจัด ไม่ควรปลูกกล้วยไม้แน่นเกิน เมื่อพบต้นที่เป็นโรคให้แยกออกไปเผาทำลายทิ้งถ้าเป็นกับกล้วยไม้ที่โตควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกแล้วใช้สาร
เคมีป้าย เช่น ริโดมิลสลับกับไดเทน เอ็ม 45
2. โรคดอกสนิมหรือจุดสนิม
โรคนี้เป็นปัญหามากเพราะกล้วยไม้อาจแสดงอาการระหว่างการขนส่งได้ เกิดจากเชื้อรา Curvularia eragrostidis พบที่กลีบดอกกล้วยไม้
โดยเริ่มแรกเป็นจุด
ขนาดเล็กสีน้ำตาลอมเหลือง จุดขยายใหญ่มีสีเขียวเข้มคล้ายสนิม โรคนี้ระบาดได้ดีในช่วงฤดูฝนหรือสภาพที่มีน้ำค้างลงจัด
การป้องกันกำจัด
รักษาความสะอาดแปลง
อย่าปล่อยให้ดอกกล้วยไม้บานโรยคาต้น
เก็บดอกที่เป็นโรคนี้ออกให้หมดและเผาทำลายเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมโรคและฉีดพ่นด้วยสารเคมีประเภทไดเทน
เอ็ม 45 ไดเทน เอล เอฟ หรือ มาเนกซ์ โดยในช่วงฤดูฝนควรฉีดพ่นให้ถี่ขึ้น
3. โรคใบปื้นเหลือง
เกิดจากเชื้อ Pseudocercospora dendrobii มักเกิดกับใบที่อยู่โคนต้น โดยใบจะมีจุดกลมสี