ถิ่นกำเนิด
สหรัฐอเมริกา
น้ำหนัก 50 ปอนด์ (โดยเฉลี่ย) ความสูง 21-25 นิ้ว ขน แข็งและแนบแน่น ไม่สั้นเกินไป สี สีอะไรก็ได้ จัดอยู่ในกลุ่ม HOUND ข้อดีข้อเสียของสุนัขพันธุ์นี้
เดอ โซโต เอาฮาวน์ดตัวแรกเข้ามายังโลกใหม่เพื่อแกะรอยพวกอินเดียนแดงในปี 1650 โรเบิร์ต บรุก ตั้งถิ่นฐานลงในแมรี่แลนด์พร้อมด้วย ฟ็อกซ์ฮาวน์ดทั้งฝูง ท่านยอร์จวอชิงตันเอาสุนัขพันธุ์อังกฤษ ส่วนหนึ่ง มาเลี้ยงไว้เมื่อปี 1770 และได้รับของขวัญชิ้นหนึ่งเป็นสุนัขล่ากวางพันธุ์ฝรั่งเศสที่มีหูยาวจากนายพลลาฟาแย็ต เมื่อปี 1785 สุนัขสองพันธุ์ของวอชิงตันก็เลยผสมกัน และอาจจะเป็นบรรพบุรุษสุนัขของอเมริกันฟ็อกซ์ฮาวน์ด ในทุกวันนี้ก็ได้ พวกนักแสดงหาเมืองขึ้นต่างก็อยากล่าสุนัขจิ้งจอกดังที่รู้กันในอังกฤษแต่ป่าอันเปล่าเปลี่ยวนั้นเอง ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงกีฬาชนิดนี้เสียบ้าง พวกชาวแมรี่แลนด์และชาวเวอร์จิเสียที่ขี่ม้าได้แข็งก็ไม่ค่อยใฝ่ใจ ในแบบฉบับการล่าของอังกฤษยามเมื่อควบตามฝูงสุนัขไปอย่างไม่กลัวตกมาคอหัก ฝ่าพงป่าลำธารข้ามทุ่งและไต่เขาไปนั้น พอนักล่าเห็นตัวเหยื่อเข้าแล้วก็มักจะแหกปากร้องไห้เสียวเข้า กระดูกสันหลังยาม เมื่อทหารฝ่ายเหนือฝ่ายใต้โลดถลาเข้าประจัญบานกันในยุคสงครามกลางเมืองนั่นเอง นักควบอาชาที่กวดสุนัขจิ้งจอกจี้ไปตามทุ่งตามท่าในฟิลาเดลเฟียที่เพิ่งตั้งเมืองใหม่ ตลอดจนในไร่ของ เมนฮัตตันตอนบน หรือการล่าสุนัขในบรุกสินนั้นเพิ่งมาสั่งห้ามกันเมื่อไม่ถึง 100 ปีมานี้เอง กีฬาดังกล่าวนี้ยังก่อแบบฉบับการล่าสุนัขจิ้งจอกในรูปต่าง ๆ แล้วแต่ว่าจะเป็น-ภูมิภาคไหน บางฝูงที่เจ้าของหวงนักหวงหนาก็ไปโผล่อยู่ภาคใต้ และต่างก็มีชื่อของผู้เพาะเลี้ยงรายฉมัง ๆ ไว้ เช่น มอบิน วอล์กเกอร์ เบริ์ดซอง และอื่น ๆ สานพัดยี่ห้อ และต่างพวกต่างก็เหมาะกับวิธีการล่านั้น ๆ สุนัขจิ้งจอกในอเมริกานั้นหายากกว่าในอังกฤษ และกลิ่นสุนัข และกลิ่นสุนัขจิ้งจอกในดงทึบและ ภูมิประเทศที่เป็นขุนเขาก็ตามยาก ฉะนั้นอเมริกันฟ็อกซ์ฮาน์ดจึงต้องอาศัยจมูกที่ไวและแม่นยำเป็นพิเศษ สุนัขที่แกะรอยติดตามสุนัขจิ้งจอกที่ว่องไวรวดเร็วไปไม่ลดลฟฝ่าพื้นภูมิประเทศที่ทุรกันดารไม่ท้อถอย ตีนที่ไม่เหมือนกับตีนกระต่ายของเขานั้นควบจัดสุดที่นักอาชาจะตามได้ทัน นักล่าจะตามได้ถูกทางก็เพราะเสียงเห่าหอนของเขาที่บรรเลงไปตลอดทาง สุนัขพันธุ์ฝรั่งเศลของยอร์จ วอชิงตันนั้น กล่าวกันว่าเขาร้องเพราะมีกังวานประดุจ "เสียระฆังในกรุงมอสโก" กระนั้นเทียวละ ยามค่ำคืน สุนัขพวกนี้จะตามกลิ่นสุนัขจิ้งจอกจนกระทั่งสุนัขจิ้งจอกมุดเข้ารู เข้าโพรง เขาก็จะเฝ้าอยู่อย่างนั้นจนกระทั่ง เจ้าของป่าเขาเรียกนั้นแหละ เขาจึงจะวิ่งกลับมาไกลนับเป็นไมล์ ๆ เพื่อเข้าบ้าน ซึ่งนับว่าเก่งไม่น้อยที่จับ ทิศทางกลับบ้านได้แม่น อเมริกันฟ็อกซ์ฮาน์ดนั้นหูยาวและตาโศกเอาไปประกวดในอังกฤษแม้ยากที่จะชนะคนอื่นเขาได้แต่เสียง ของเขานั้นอย่าบอกเลยที่เดียวทั้งไพร่หรือกระฎมพีทั้งปวงฟังเขาบรรเลงแล้วติดใจ |
|
|