ลักษณะประจำพันธุ์ 
        โดยทั่วไป บ๊อกเซอร์มีท่าทางบึกบึน รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสบ๊อกเซอร์มีความปราดเปรียว 
ว่านอนสอนง่าย มีความสงบเสงี่ยม รักความสะอาด ที่สำคัญที่สุดคือ ความรักและความซื่อสัตย์ต่อนาย มันระวังภัยและกล้าหาญ พร้อมที่จะเป็นผู้โจมตีและป้องกันอยู่ตลอดเวลาส่วนในเรื่องความเร็วและ
ความคล่องแคล่ว ว่องไว และความสามารถในการก้าวกระโดดก็มิได้น้อยกว่าสุนัขทั่วไป
 
          มาตราฐานสุนัขไทย       ส่วนใหญ่ควรจะเป็นอย่างนี้
ลำตัว      ความกว้าง ตั้งแต่ขาหน้าถังขาหลัง ให้ได้ส่วนกับความสูง จะยิ่งหย่อนก็เพียงเล็ก-
                น้อย อย่าให้ลำตัวยาวจนเกินไปแล้ว ขาสั้น และไม่ได้ส่วน ส่วนหน้าอกควรจะ
                ใหญ่กว่าท้องเล็กน้อย ไม่มากนักไม่ให้เห็นเป็นสุนัขท้องกิ่ว
หาง         หางสุนัขไทยมีด่าง ๆ กัน เช่นงอม้วน หรือขดงอเป็นวงกลม งอพาดไปบน
                 เส้นหลัง งอเป็นตัวยูเหนือสันหลังชี้ขึ้นเหนือสันหลัง ที่ตั้งของหางเหล่านี้ ทำให้
                 มองเห็นลำตัวของสุนัขสั้น แต่ที่นิยมและยอมรับได้ควรเป็น " หูตั้งหางดาบ " 
                  กล่าวคือ กำหนดให้หางทอดไปทางหลังเหมือนดาบต้องสูงเพราะเวลาสุนัขยืน
                  เพ่งไปข้างหน้า หูจะตั้งตรงและหางจะทอดไปทางหลัง เป็นรูปที่งามทำให้
                  สุนัขมีสง่าขึ้น
สี              สุนัขไทยมีได้ทุกสี ไม่กำจัดสีใดสีหนึ่ง เช่น สีดำ สีขาว สีแดง สีแดงปากดำ 
                  สีนวล สีนวลปากดำ สีลายเสือแดง สีลายเสือดำ สีเผือกสุกสีสวาด สีเหล่านี้ 
                  ควรจะเป็นสีนั้น ๆ ล้วน นอกจากพวกสีลายเสือ ถ้าเป็นสีไม่ล้วนมักจะมีสีขาว
                  ปน ที่คอ อกใต้ท้อง ที่ปลายเท้า และที่หาง ทำให้สีหย่อนแต้มไปบ้างถ้ามี
                  เล็กน้อยก็ไม่ควรจะเป็นที่น่ารังเกียจ บรรดาสีต่าง ๆ ทีกล่าวมานี้ สีสวาดเป็น
                  สีที่หาได้ยากมาก
ความสูง    ตัวผู้วัดจากพื้นตามส่วนสูงของเท้าหน้า จนกระทั่งจดกระดูกบ่าสันหลัง55
                  ซ.ม.หนัก20-25 ก.ก. ถ้าเป็นตัวเมียต่ำลงมาอีก 2 ถึง 5 ซ.ม. เท่ากับ 50   ซ.ม.
                   คือจาก 50  ซ.ม. ถึง 52 ซ.ม. น้ำหนัก 18-20 ก.ก. ถ้าไม่ได้ขนาดนี้ แต่ละตัวควร 
                  จะลดความสูงลดมาตัวละ 5 ซ.ม.
ใบหน้า     ปากทู่ รูปปากและหัวไม่แหลม หัวกว้างพอสมควร กะโหลกศีรษะไม่แบนและ
                  ไม่นูนนัก หน้าไม่หัก ฟันขาวสะอาด ฟันล่างและบนสัมผัสกันพอดี หูตั้งตรง
                   ทั้ง สองข้าง
               ต่อมาการเลี้ยงสุนัขไทยได้มีการพัฒนาขึ้นและพยายามหามาตรฐานเพื่อเป็น
หลักนิยมไทยปัจจุบันจึงสรุปลักษณะของสุนัขไทยไว้ดังต่อไปนี้
หัว                        ลักษณะจะเป็นรูปลิ่ม กรามค่อนข้างกางออกเห็นได้ชัด หน้าผากเรียบ 
                             ค่อนข้างกว้างเส้นกะโหลกด้านบน และเส้นจากหน้าผากถึงจมูกเกือบ
                             จะเป็นเส้นขนานกัน ตารูปกลมลึกในสุนัขสีเทาจะมีเทาอมฟ้าสีอื่นจะต้อง
                             เป็นสีน้ำตาลเข้ม จมูกจะมีสำดำ ฟันบน 20 ซี่ ฟันล่าง 22 ซี่ หูตั้งเกือบตรง
คอ                          ตั้งเกือบตรงมีสัดส่วนพอดีกับลำตัวไม่ยาวและไม่หนาเกินไป เรียบมี
                               กล้ามเนื้อ คอส่วนล่างโค้งรับกับอกและลำตัว ไหล่สุง อกหน้าค่อนข้าง
                              กว้างความลึกของอกควรจะลึกข้อศอก ขาหน้าตรงมีอุ้งเท้าค่อนข้างกลม
                              คล้ายอุ้งเท้าแมว เล็บดำ หลังตรงข้างสั้นและเกือบจะเป็นเส้นตรงจาก
                              ไหล่ ส่วนเอวจะเต็มไม่คอดกิ่ว
ความลึกของอก    ควรมีสัมพันธ์กันคือ ความลึกของแก วัดจากไหล่ถึงข้อศอก ควรจะมี
                              ส่วนลึก 50% ต่อ 50% จากข้อศอกถึงพื้นหรือความลึกจากไหล่ถึง
                              ข้อศอก45%  จากข้อ ศอกถึงพื้น55% ความยาวของลำตัวเกือบจะเป็น
                              สี่เหลี่ยมจัตุรัสสะโพกมีกล้ามเนื้อแข็งแรง ที่ตั้งหางอยู่ในระดับจากเส้น
                              หลังมุมขาหลังกับสะโพกค่อนข้างกว้าง
ส่วนสูง                 เพศผู้ประมาณ 21-23 นิ้ว เพศเมียประมาณ 19-21 นิ้ว ขนสั้นเกรียน
                              ค่อนข้างแข็งแน่น
สี                          ควรจะมีสีดำ น้ำตาลแก่-อ่อน และสีเทา (สวาด) เท่านั้น
ลักษณะที่ไม่ดี     เส้นขนานระหว่างหัวและสันหน้าไม่กลมกลืนกัน ฟันไม่ครบ 42 ซี่ 
                            จมูกสีอ่อนริมฝีปากมีหนังห้อยยาน อกตื้น หนังคอหย่อนยานไม่ตึงหลังยาว
                            และอ่อน ขาหน้าไม่ตรงนิ้วบิดเก อกแคบ นิ้วกาง ที่ตั้งหางต่ำเกินไป